วันนี้ ( 2 กร กฎาคม 2567) เวลา 08.30 น. การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ร่วมกับ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) จัดพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding : MOU) โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบไฟฟ้า เทคโนโลยีพลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงาน โดยมี นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการ กทพ. และ นายวิลาศ เฉลยสัตย์ ผู้ว่าการ กฟน. ร่วมลงนามในพิธี ณ หอประชุม 0101 ชั้น 1 อาคารศูนย์บริหารทางพิเศษ กทพ.

 

​       

นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการ กทพ. กล่าวในรายละเอียดว่า การลงนามบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding : MOU) โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบไฟฟ้า เทคโนโลยีพลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงาน ระหว่าง การทางพิเศษแห่งประเทศไทย และการไฟฟ้านครหลวง  มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริม สนับสนุน      การดำเนินงานพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบไฟฟ้าในอนาคตระบบการจัดการพลังงานเพื่อประหยัดพลังงานไฟฟ้าสำหรับอาคารศูนย์บริหารทางพิเศษ กทพ. อาคารศูนย์ควบคุมทางพิเศษ อาคารด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษ ระบบไฟฟ้าส่องสว่างทางพิเศษ และเพื่อสนับสนุนการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีและการบริหารจัดการต้านพลังงานทดแทน เช่น การเปลี่ยน โคมไฟชนิด LED ทดแทนโคมไฟแบบเดิม การเปลี่ยนและบำรุงรักษาระบบปรับอากาศเป็นชนิดประหยัดพลังงาน การติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ การติดตั้ง EV charger และอื่น ๆ อันจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มการใช้ประโยชน์   ในทรัพย์สินของทั้งสองหน่วยงาน

 

       

นายวิลาศ เฉลยสัตย์ ผู้ว่าการ กฟน. กล่าวเพิ่มเติมว่า กฟน. จะร่วมศึกษาและพัฒนาโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบไฟฟ้า เทคโนโลยี พลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมที่สุดภายในพื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของ กทพ. และให้การสนับสนุน นำเสนอเทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทนและการประหยัดพลังงานตั้งแต่การให้ความรู้ในหลักวิชาการ การสำรวจ ออกแบบ ลงทุน ดำเนินการติดตั้ง รวมถึงการให้บริการด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโครงการด้านพลังงานทดแทนและการประหยัดพลังงาน ความร่วมมือในการพัฒนาและบริหารจัดการการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการร่วมพัฒนาเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์คุณภาพการศึกษาและศูนย์การเรียนรู้การอนุรักษ์พลังงาน

​         ​“การลงนามบันทึกความเข้าใจในวันนี้ จะเป็นการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่าง การทางพิเศษแห่งประเทศไทย และการไฟฟ้านครหลวง ในการดำเนินโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบไฟฟ้า เทคโนโลยีพลังงานทดแทน การอนุรักษ์พลังงาน และการบริหารจัดการด้านพลังงานด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพสูง เสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานเกิดประโยชน์สูงสุดต่อทั้งสองฝ่าย” นายสุรเชษฐ์ฯ กล่าวในท้ายที่สุด